ธนาคารกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจยุคโควิดอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
16 ธันวาคม 2563
แม้การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะทำให้มีมาตรการล็อกดาวน์หลายประเทศจนส่งผลให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศลดลงเหลือ 17% ทั่วโลก แต่ก็ไม่ได้แสดงถึงสัญญาณที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด เพราะเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงระยะสั้นและยังถือว่าเป็นระดับการปล่อยก๊าซที่สูงอยู่เมื่อเทียบกับภาวะปกติ
.
ถ้าไม่รีบลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตอนนี้ เราอาจไม่สามารถเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะมาถึงในอนาคต
.
เมื่อเป็นแบบนี้...คุณคิดว่าระหว่าง “การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19” กับ “การับมือปัญหาสิ่งแวดล้อม” อันไหนควรทำก่อนกัน
.
ไม่จำเป็นต้องคิดให้ปวดหัว เพราะไม่ว่าเรื่องไหนก็สำคัญไม่แพ้กันและยังสามารถทำไปพร้อมกันได้ด้วย
.
หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้ อาจสงสัยว่าแล้วธนาคารจะเข้ามามีบทบาทกับ 2 กรณีนี้ได้ยังไง Fair Finance Thailand ชวนทุกคนมาอ่าน คิด และหาคำตอบไปด้วยกัน
จากงานวิจัยและแบบสำรวจโดยนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำจากสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรพบว่าโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสามารถสร้างงานได้มากกว่า สร้างผลตอบแทนระยะสั้นได้สูงกว่า และช่วยเพิ่มการประหยัดทุนในระยะยาวเมื่อเทียบกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจทั่วไป
.
โครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมบางประเภทยังสามารถทำงานโดยเว้นระยะห่างทางกายภาพ (Social Distancing) และไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะเฉพาะทางของแรงงานมากนัก ทำให้สามารถเริ่มโครงการได้ทันที อาทิ การปรับปรุงอาคารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน หรือการปลูกป่าฟื้นฟูระบบนิเวศ การทำเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
.
นอกจากนโยบาย การฟื้นฟูในทางปฏิบัติก็สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างการเพิ่มสินเชื่อหรือเงินให้เปล่าสำหรับอุ้มธุรกิจที่ประสบปัญหาสภาพคล่อง เช่น รัฐบาลฝรั่งเศสที่อนุมัติเงินช่วยเหลือมูลค่า 8 พันล้านยูโรให้กับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ โดยหวังจะทำให้ประเทศเป็นผู้นำด้านการผลิตยานพาหนะพลังงานสะอาดแห่งสหภาพยุโรป
.
โครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมบางประเภทยังสามารถทำงานโดยเว้นระยะห่างทางกายภาพ (Social Distancing) และไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะเฉพาะทางของแรงงานมากนัก ทำให้สามารถเริ่มโครงการได้ทันที อาทิ การปรับปรุงอาคารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน หรือการปลูกป่าฟื้นฟูระบบนิเวศ การทำเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
.
นอกจากนโยบาย การฟื้นฟูในทางปฏิบัติก็สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างการเพิ่มสินเชื่อหรือเงินให้เปล่าสำหรับอุ้มธุรกิจที่ประสบปัญหาสภาพคล่อง เช่น รัฐบาลฝรั่งเศสที่อนุมัติเงินช่วยเหลือมูลค่า 8 พันล้านยูโรให้กับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ โดยหวังจะทำให้ประเทศเป็นผู้นำด้านการผลิตยานพาหนะพลังงานสะอาดแห่งสหภาพยุโรป
การใช้บริการสถาบันการเงินของเรากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดูเหมือนเป็นเรื่องที่ห่างไกลกันมาก แต่ความจริงแล้วธนาคารคือแหล่งเงินทุนสำคัญของบริษัทหรือโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเงินจากธนาคารก็มีที่มาจากเรานั่นเอง
.
ดังนั้นการที่ธนาคารจะออกนโบาย “ฟื้นฟูสีเขียว” จึงถือเป็นข้อเสนอที่น่าสนใจในการกระตุ้นเศรษฐกิจท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ เพราะธนาคารมีอำนาจในการเลือกสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนบริษัทและโครงการต่างๆ ด้วยการมีนโยบายเลือกลงทุนในโครงการพลังงานหมุนเวียน จำกัดการสนับสนุนทางการเงินแก่อุตสาหกรรมที่ไม่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม หรือการออกผลิตภัณฑ์และบริการที่ส่งเสริมให้ลูกค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น สินเชื่อสำหรับเทคโนโลยีสะอาด
.
ดังนั้นการที่ธนาคารจะออกนโบาย “ฟื้นฟูสีเขียว” จึงถือเป็นข้อเสนอที่น่าสนใจในการกระตุ้นเศรษฐกิจท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ เพราะธนาคารมีอำนาจในการเลือกสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนบริษัทและโครงการต่างๆ ด้วยการมีนโยบายเลือกลงทุนในโครงการพลังงานหมุนเวียน จำกัดการสนับสนุนทางการเงินแก่อุตสาหกรรมที่ไม่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม หรือการออกผลิตภัณฑ์และบริการที่ส่งเสริมให้ลูกค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น สินเชื่อสำหรับเทคโนโลยีสะอาด
หากธนาคารมีนโยบายเหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรมและดำเนินการจริงจังในระยะยาว จะส่งผลเป็นวงกว้างก่อให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผลักดันให้ New Normal ไม่ใช่สื่อถึงเพียงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อรับมือวิกฤตโควิด-19 แต่ยังเป็นการปรับเพื่อรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันได้ด้วย