ธนาคารไทยกับความใส่ใจด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

17 ธันวาคม 2563

ในขณะที่หลายประเทศทั่วโลกมองว่าปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรุนแรงเทียบเท่ากับวิกฤตโควิด-19 แต่จากผลการประเมินธนาคารไทยในหมวดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เน้นประเมินบทบาทของธนาคารในการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการดำเนินงานทั้งทางตรงและทางอ้อมพบว่าธนาคารไทยเกินครึ่งไม่มีนโยบายเปิดเผยต่อสาธารณะซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์ในหมวดนี้เพียงพอที่จะได้คะแนน
.
ส่วนธนาคารที่ได้รับคะแนนสูงสุด คือธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ไป 2 ข้อจาก 24 ข้อ จากการที่ธนาคารมีการกำหนดเป้าหมายใน 2 เรื่อง คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรทั้งทางตรงและทางอ้อม และการลดใช้พลังงานที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหลือร้อยละ 10 ภายในปีพ.ศ.2566 หรืออีกสามปีข้างหน้า รวมทั้งมีนโยบายลงทุนหรือให้การสนับสนุนทางการเงินแก่บริษัทที่เปลี่ยนจากการใช้เชื้อเพลงฟอสซิลมาเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน
.
ตามมาด้วยธนาคาร 3 แห่ง ที่ได้รับคะแนน 1 ข้อ จาก 24 ข้อ
ได้แก่ธนาคารทหารไทยที่มีนโยบายไม่ให้สนับสนุนทางการเงินแก่โครงการเกษตรกรรมที่แปลงจากพื้นทึ่ชุ่มน้ำ ป่าพรุ หรือพื้นที่อื่นๆ ที่กักเก็บคาร์บอนในระดับสูง
.
ธนาคารกสิกรและธนาคารกรุงเทพ มีนโนบายเดียวกันคือการกำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งสอดคล้องกับการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิด 1.5 องศาเซลเซียส
.
ธนาคารไทยควรมีนโยบายระดับปฏิบัติการของธนาคารเอง และนโยบายสำหรับบริษัทที่ธนาคารลงทุนหรือให้การสนับสนุนอย่างเปิดเผยต่อสาธารณะเพิ่มมากขึ้น เพื่อแสดงถึงความใส่ใจอย่างจริงจังกับด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าประเด็นอื่น เช่น นโยบายไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่เหมืองถ่านหิน นโยบายไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่บริษัทผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินที่ไร้มาตรการลดผลกระทบ ซึ่งก็คือไม่ใช้เทคโนโลยีกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage) เป็นต้น
.
ถ้าอยากให้ธนาคารไทย ใส่ใจกับด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น ไปที่ www.fairfinancethailand.com ได้เลย